แฟ้มสะสมผลงานการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการแข่งขันกีฬาบุคลากร อาจารย์ให้นักศึกษา ศึกษานอกห้องเรียนและทำงานที่มอบหมาย *
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
- อาจารย์ให้ส่งแผนการสอนที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์ที่แล้ว
- อาจารย์แจกกล่องให้คนละ 1 กล่อง และอาจารย์ได้ใช้คำถาม 2
แบบ ดังนี้
1.
เมื่อเห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร2. เมื่อเห็นกล่องแล้ว อยากให้กล่องเป็นอะไร
- อาจารย์ถามว่า กล่องนำมาใช้ในคณิตศาสตร์ได้อย่างไร
- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน โดยต่อกล่องเป็นรูปอะไรก็ได้
*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- ฝาขวดน้ำ 9 ฝา
- ตัดกระดาษแข็งสีเหลือง ส้ม ชมพู ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1, 1.5 และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 ชิ้น มาติดใส่ฝาขวด
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
- อาจารย์ให้กลุ่มที่ 1 ออกมานำเสนองานที่อาจารย์ได้สั่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เกี่ยวกับการเชื่อมโยงเนื้อหาที่จะสอนกับวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้หลัก 12 ข้อ ของ
อาจารย์นิตยา ประพฤติกิจ
- อาจารย์ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนนำเสนอเนื้อหาในเรื่องที่จะสอนว่าในวันของตัวเอง
กลุ่มที่ 1 เรื่องส้ม
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
- ทำไมต้องให้เด็กนับ เพื่อให้เด็กรู้จักการพิสูจน์หาข้อเท็จจริง
- การให้เด็กนับไม่ควรวางไว้ในตะกร้า ควรวางไว้ให้เด็กเห็นจำนวน
- ขณะที่นับควรพูดให้เด็กเข้าใจ โดยการใช้ภาษา เช่น ส้มหนึ่งลูก เพิ่มอีกหนึ่งลูก
เป็นสองลูก ส้มสองลูก เพิ่มอีกหนึ่งลูกเป็นสามลูก
- และจะสอนเซตได้อย่างไร เช่น ส้มทั้งหมดมีเท่าไร ทำให้เด็กได้รู้เรื่องเศษส่วนในขณะที่สอนครูควรมีคำถามในระหว่างการสอน เช่น เด็กๆ อยากทราบหรือไหมว่าส้มที่ไม่ใช่ส้มเขียวหวานมีส้มอะไรบ้าง ครูก็จะเป็นคนบอกกับเด็กว่ามีส้มอะไรบ้าง และควรมีการทายปัญหา
- การทำตามแบบ เช่น ครูอาจนำรูปส้มต่างๆ วางไว้ แล้วให้เด็กๆ นำส้มไปวางตามรูปภาพนั้น หรือครูนำส้มมาวางสลับกัน เช่น ส้มเขียวหวาม ส้มเช้งส้มเขียวหวาน
- อาจารย์ให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนนำเสนอเนื้อหาในเรื่องที่จะสอนว่าในวันของตัวเอง
กลุ่มที่ 1 เรื่องส้ม
ข้อเสนอแนะของอาจารย์
- ทำไมต้องให้เด็กนับ เพื่อให้เด็กรู้จักการพิสูจน์หาข้อเท็จจริง
- การให้เด็กนับไม่ควรวางไว้ในตะกร้า ควรวางไว้ให้เด็กเห็นจำนวน
- ขณะที่นับควรพูดให้เด็กเข้าใจ โดยการใช้ภาษา เช่น ส้มหนึ่งลูก เพิ่มอีกหนึ่งลูก
เป็นสองลูก ส้มสองลูก เพิ่มอีกหนึ่งลูกเป็นสามลูก
- และจะสอนเซตได้อย่างไร เช่น ส้มทั้งหมดมีเท่าไร ทำให้เด็กได้รู้เรื่องเศษส่วนในขณะที่สอนครูควรมีคำถามในระหว่างการสอน เช่น เด็กๆ อยากทราบหรือไหมว่าส้มที่ไม่ใช่ส้มเขียวหวานมีส้มอะไรบ้าง ครูก็จะเป็นคนบอกกับเด็กว่ามีส้มอะไรบ้าง และควรมีการทายปัญหา
- การทำตามแบบ เช่น ครูอาจนำรูปส้มต่างๆ วางไว้ แล้วให้เด็กๆ นำส้มไปวางตามรูปภาพนั้น หรือครูนำส้มมาวางสลับกัน เช่น ส้มเขียวหวาม ส้มเช้งส้มเขียวหวาน
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
- วันนี้อาจารย์สอนวิธีการทำ mind mapping ว่าไม่ควรมีการทำ ( )
- อาจารย์บอกว่าการคิด mind mapping เป็นการคิดแบบวิเคราะห์
- วิธีการเลือกหน่วยการสอน คือ
--------------> สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
--------------> สิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบ
- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอในหน่วยที่ตนเองทำแล้วอาจารย์ถามว่า กิจกรรม 12 กิจกรรมเราจะเชื่อมโยงเข้ากับหน่วยเราได้อย่างไรบ้าง
- อาจารย์บอกว่าการเขียนหน่วยการสอนถ้าอะไรเป็นสิ่งมีชีวิตจะต้องมีการขยายพันธ์
วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
-อาจารย์ให้นำเสนอ my map ของแต่ละกลุ่ม
-สิ่งที่อาจารย์แนะนำคือ การที่เราเลือกชื่อหน่วย อะไรเป็นคณิตศาสตร์ อาจารย์บอกว่ามันยากเกินไปและอาจารย์ได้บอกหลักในการเลือกหรือตั้งชื่อหน่วย ดังนี้
1.เลือกหน่วยที่ใกล้ตัวเด็ก
2.สิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
เนื้อหาหรือทักษะ
1. การนับ ( counting )เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย
2. ตัวเลข (number )เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กนับและคิดเอง
3. การจับคู่ ( matching )เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการจับคู่ จำนวน/จำนวน จำนวน/ตัวเลข
4. จัดประเภท ( classification )เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆ และจัดประเภทได้
5. การเปรียบเทียบ ( comparing )เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสำพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
6. การจัดลำดับ ( ordering )เป็นการจัดสิ่งของเป็นชุดๆ เรียงตามลำดับ หนัก-เบา / เบา-หนัก
7. รูปทรงและเนื้อที่ ( shape and space )สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ความกว้าง ความหนา ความลึก
8. การวัด ( measurement )การหาค่า เพื่อให้รู้ขนาดโดยการใช้เครื่องมือต่างๆในการวัดหาค่าความยาว ความกว้าง การหาค่าน้ำหนัก (ชั่งน้ำหนัก) หาค่าโดยการวัด การชั่ง การตวง
9. เซต ( set )จัดหมวดหมู่สื่งที่มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน เช่น จัดหมวดหมู่อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร
10. เศษส่วน ( fraction )การแบ่งสัดส่วน เช่นการแบ่งขนม แบ่งไป1ชิ้น เหลือ3ชิ้น มีขนมทั้งหมด4ชิ้น เหลือ3ใน4
11. ทำตามแบบหรือลวดลาย ( patterning )เป็นแบบข้อตกลงร่วมกัน คณิตศาสตร์มีระบบมีวิธีการ จึงต้องให้เด็กมีประสบการณ์ในการทำตามแบบ
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ( conservation )เด็กเล็กจะตัดสินจากสิ่งที่ตาเห็น และเด็กช่วงอายุ 5 ขวบขึ้นไปอาจจะเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้างแล้ว
* งานที่ได้รับมอบหมาย * -อาจารย์ให้ไปปรับปรุงหัวข้อ และนำทฤษฎีไปบูรณาการทางคณิตศาสตร์ในหน่วยที่ได้ปรับปรุงแล้ว
วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
- อาจารย์ให้วาดรูปทำสัญลักษณ์แทนตัวเองพร้อมเขียนชื่อในแนวนอนให้นำไปติดตามช่วงเวลาที่ตนมาเรียน ก่อนเที่ยง เที่ยงและหลังเที่ยงในเรื่องนี้เด็กจะได้ในเรื่อง
--------->1.รูปทรง
--------->2.ก่อน
--------->3.เวลา
--------->4.หลัง
--------->5.การนับ
--------->6.ตัวเลข
--------->7.จำนวน
--------->8.การเปรียบเทียบ
- วิชาคณิตศาสตร์กับภาษาจะเท่ากับเครื่องมือการเรียนรู้ และคณิตศาสตร์จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในชีวิตประวันของเด็ก
- ในการจัดหมวดหมู่หรือว่าจัดกลุ่มต้องสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาก่อน
- การบูรณาการทางคณิตศาสตร์ จะบูรณาการได้กับ
- อาจารย์ได้พูดถึง 6 กิจกรรมหลักว่ามีอะไรบ้างแล้วอาจารย์ถามว่าใน 6กิจกรรมหลักนั้นเป็นวิทยาศาตร์ยังไงได้บ้าง
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสื่อที่เป็นเพลงเช่น "เพลงพาเหรดตัวเลข" เด็กจะได้เรื่องของจำนวน ทิศทาง ตำแหน่งและอนุกรม "เพลง 1 2 3 4 " เด็กจะได้เรื่องของการนับ จำนวน และความจำ" และ " เพลงแมลงปอ 5 ตัว" เด็กจะได้เรื่องของการนับ และการแทนค่า
2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การต่อเติมรูปภาพตามจินตนาการของเด็ก
3. กิจกรรมเสรี เช่น ผ่านมุมประสบการณ์ต่างๆ มุมบล็อค มุมวิทยาศาสตร์ การชั่งน้ำหนัก วัดขนาด บันทึกการเปลี่ยนแปลง
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
- เกมเบ็ดเตล็ด
- เกมแบบผลัด
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
1.จับคู่
2. การต่อภาพให้สมบูรณ์
3. การวางภาพต่อปลาย
4. การเรียงลำดับ
5. การจัดหมวดหมู่
6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ
* งานที่ได้รับมอบหมาย *
อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คนแล้วให้ไปหาหน่วยที่เป็นวิทยาศาสตร์แล้วแบ่งออกเป็น 5 วันโดยสมาชิกในกลุ่มมีตังต่อไปนี้
- นางสาวนิศาชล กุลอัก
- นางสาวเพชรลัดดา บุตรมิตร
- นางสาวละมัย ใจดี
- นางสาวสุภาวดี ทุมแก้ว
- นางสาวอารีวรรณ พวงเงิน
วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
- อาจารย์ถามว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความคิดของเราคืออะไร
- การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความหมายว่าอย่างไรและคำไหนคือใจความสำคัญ
----------> คณิตศาสตร์คือสาระหรืเนื้อหา
- อาจารย์พูดถึง 6 กิจกรรมหลัก
- อาจารย์บอการจะหาวิธีนำเสนอที่ดีควรเป็นวิธีที่มีข้อเสียน้อยที่สุด
- วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมในเรื่อง อายุ พัฒนาการ พฤติกรรมเด็กปฐมวัย
- อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับวันเวลาที่จะตรวจ blogger ว่าอาจารย์จะตรวจทุกวันศุกร์และใน blogger จะต้องใส่ทุกอย่างให้ครบตามแนวการสอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)