วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


 -อาจารย์ให้นำเสนอ my map ของแต่ละกลุ่ม

 -สิ่งที่อาจารย์แนะนำคือ การที่เราเลือกชื่อหน่วย อะไรเป็นคณิตศาสตร์  อาจารย์บอกว่ามันยากเกินไปและอาจารย์ได้บอกหลักในการเลือกหรือตั้งชื่อหน่วย ดังนี้
                     1.เลือกหน่วยที่ใกล้ตัวเด็ก 
                     2.สิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

เนื้อหาหรือทักษะ


1. การนับ ( counting )เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย

2. ตัวเลข (number )เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กนับและคิดเอง

3. การจับคู่ ( matching )เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการจับคู่ จำนวน/จำนวน จำนวน/ตัวเลข

4. จัดประเภท ( classification )เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆ และจัดประเภทได้

5. การเปรียบเทียบ ( comparing )เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสำพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า

6. การจัดลำดับ ( ordering )เป็นการจัดสิ่งของเป็นชุดๆ เรียงตามลำดับ หนัก-เบา / เบา-หนัก

7. รูปทรงและเนื้อที่ ( shape and space )สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ความกว้าง ความหนา ความลึก

8. การวัด ( measurement )การหาค่า เพื่อให้รู้ขนาดโดยการใช้เครื่องมือต่างๆในการวัดหาค่าความยาว ความกว้าง การหาค่าน้ำหนัก (ชั่งน้ำหนัก) หาค่าโดยการวัด การชั่ง การตวง

9. เซต ( set )จัดหมวดหมู่สื่งที่มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน เช่น จัดหมวดหมู่อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร

10. เศษส่วน ( fraction )การแบ่งสัดส่วน เช่นการแบ่งขนม แบ่งไป1ชิ้น เหลือ3ชิ้น มีขนมทั้งหมด4ชิ้น เหลือ3ใน4

11. ทำตามแบบหรือลวดลาย ( patterning )เป็นแบบข้อตกลงร่วมกัน คณิตศาสตร์มีระบบมีวิธีการ จึงต้องให้เด็กมีประสบการณ์ในการทำตามแบบ

12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ( conservation )เด็กเล็กจะตัดสินจากสิ่งที่ตาเห็น และเด็กช่วงอายุ 5 ขวบขึ้นไปอาจจะเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้างแล้ว


* งานที่ได้รับมอบหมาย *         -อาจารย์ให้ไปปรับปรุงหัวข้อ และนำทฤษฎีไปบูรณาการทางคณิตศาสตร์ในหน่วยที่ได้ปรับปรุงแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น